ดุริยางคศาสตร์

Music

...เป็นหลักสูตรที่มีความหลากหลายครอบคลุมแขนงวิชาทางด้านดนตรีที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของการศึกษาวิชาด้านดนตรีในปัจจุบัน เน้นการศึกษาแบบเจาะลึกเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายแขนงหรือสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทต่อไป...

ชื่อปริญญา

ดุริยางคศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Music

ดศ.บ.
B.M.

หลักสูตร

ดุริยางคศาสตร์ หลักสูตรปกติ 4 ปี (หลักสูตรไทย)
(หลักสูตรปรับปรุง 2565)

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวนไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต

คณะ / สาขาวิชา

วิทยาลัยดุริยศิลป์
College of Music

ดุริยศิลป์
Music

เรียนรู้อะไรบ้าง

ทฤษฎีดนตรี, ทักษะการอ่าน ฟัง เขียน ด้านดนตรี, การร้องเพลงประสานเสียง, การใช้งานคอมพิวเตอร์ด้านดนตรี, ภาษาอังกฤษสำหรับนักดนตรี, การรวมวง, ทักษะความรอบรู้ด้านดนตรี, ดนตรีศึกษา, การประพันธ์เพลง, การแสดงดนตรีสากล

อาชีพในอนาคต

อาจารย์สอนดนตรี/ครูดนตรี, นักดนตรี, นักประพันธ์เพลง, เจ้าของกิจการดนตรี, นักวิชาการ/นักวิจัยด้านดนตรี, ทำงานเกี่ยวกับธุรกิจดนตรี เช่น ผู้จัดการวงดนตรี ผู้จัดการแสดงดนตรี (Producer), ทำงานในห้องบันทึกเสียง, อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรี และเทคโนโลยีดนตรี

การสมัครเรียน

ดุริยางคศาสตร์

การรับเข้าศึกษา

    • สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 ปวช. ปวส. มีทักษะการเล่นเครื่องดนตรี หรือการขับร้อง ตามมาตรฐานที่วิทยาลัยดุริยศิลป์กำหนด
    • นักศึกษาต่างชาติต้องมีความสามารถทางภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทยผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

ทุนการศึกษา

    • ทุนมหาวิทยาลัยพายัพ
    • กยศ. ลักษณะที่ 3

เอกสารประกอบการสมัคร

    • ระเบียนผลการศึกษา หรือ ปพ.1 (5 หรือ 6 ภาคเรียน) (ด้านหน้า)
    • ระเบียนผลการศึกษา หรือ ปพ.1 (5 หรือ 6 ภาคเรียน) (ด้านหลัง-ถ้ามี)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ด้านหน้า) หรือหนังสือเดินทาง

ค่าเล่าเรียนปีการศึกษา 2568

    • เทอมแรก 53,250 บาท
    • ตลอดหลักสูตร 473,550 บาท

  1. สามารถเล่นเครื่องดนตรี/ขับร้อง อย่างน้อย 1 ชนิดได้อย่างเชี่ยวชาญและสามารถถ่ายทอดความรู้ได้
  2. สามารถเขียนโน้ตเพลงประสานเสียงในรูปแบบดนตรีตะวันตกเพื่อนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
  3. สามารถบรรเลงเครื่องดนตรี/ขับร้องที่ตนถนัดร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นในรูปแบบรวมวง โดยสามารถแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็น เป็นสมาชิกที่ดีของวง
  4. สามารถแสดงเครื่องดนตรี/นำเสนอผลงานดนตรีตามบทบาทและหน้าที่ทางดนตรีที่รับผิดชอบได้
  5. มีความเข้าใจ สามารถสร้างสรรค์ และสามารถจัดเก็บข้อมูลด้านดนตรี โดยใช้เทคโนโลยีทางดนตรีในการประกอบอาชีพ
  6. สามารถรู้และเข้าใจศัพท์ดนตรีในเชิงวิชาการที่เป็นภาษาต่างประเทศ และรู้แนวทางในการแสวงหาข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
  7. เข้าใจศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับดนตรีตะวันตกที่สำคัญ ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ดนตรี ตะวันตก ด้านทฤษฎีดนตรี ด้านการอ่าน ฟัง เขียนโน้ตสากล
  8. สามารถค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในเชิงวิชาการและในการประกอบวิชาชีพ
  9. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ มีสัจจะ บริการ และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ดุริยางคศาสตร์

วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ (เขตแก้วนวรัฐ)
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์: 053 851 478 – 86, 053 241 255 ต่อ 6102